Monday, May 27, 2013

ข้อดีของการทำหมันเจ้าเหมียว


        คือการตัดเอารังไข่และมดลูกออกในเพศเมีย  และการเอาอัณฑะออกในเพศผู้  ซึ่งจะทำให้สัตว์ไม่มีฮอร์โมนเพศและหยุดพฤติกรรมเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ได้ ถาวร  สัตว์จะไม่สามารถมีลูกได้อีกเป็นการช่วยลดประชากรสุนัขและแมวไม่ให้มากล้น เมืองสามารถทำได้ตั้งแต่ก่อนเป็นหนุ่มสาว  คือก่อนที่จะเข้าช่วงวัยสืบพันธุ์  (หรือคือก่อนจะมีประจำเดือนในตัวเมีย)
ข้อดีของการทำหมันในแมวเพศผู้

        1. ลดโอกาสการที่แมวตัวผู้จะออกไปเที่ยวนอกบ้าน  โดยเฉพาะการที่แมวตัวผู้จะออกไปเพื่อติดตัวเมียแล้วกัดกันแย่งตัวเมีย 
            ซึ่งอาจทำให้เกิดแผล  ฝีหนอง  หรือติดโรคไวรัสต่างๆได้  เช่นโรคเอดส์แมวเป็นต้น
        2. อาจช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวได้ในบางตัว
ข้อดีของการทำหมันในแมวเพศเมีย
        1. ขจัดปัญหาการเป็นโรคมดลูกอักเสบ
        2. ลดโอกาสการเป็นโรคเนื้องอกเต้านม
        3. ลดโอกาสการเกิดความก้าวร้าวกัดกันจากพฤติกรรมการผสมพันธุ์
        4. ลดประชากรแมวที่มากเกินไป  เนื่องจากแมวเป็นสัตว์ที่ผสมพันธุ์ได้ปีละหลายๆครั้ง  และมีลูกได้ครอกละหลายตัวด้วย
ข้อแนะนำเพิ่มเติม

                ควรต้องมีการตรวจร่างกายและตรวจเลือดก่อน  เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมและลดความเสี่ยงในการวางยาและการผ่าตัด  สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือหลังการทำหมันสุนัขจะมี  activity  ลดลงเนื่องจากไม่มีฮอร์โมนเพศ  จึงควรจัดให้สุนัขได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพียงพอ  และควบคุมอาหารให้เหมาะสม  เพื่อลดโอกาสที่จะอ้วนตามมาได้
บทความโดย : สพ.ญ.ศลาวลี สุดทรวง ประจำโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ ( ลาดพร้าว )
ที่มา : โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ
ภาพประกอบ : อินเตอรืเน็ต
Continue lendo

โรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่างในแมว

โรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่างในแมว
อะไรคือ สาเหตุ ของโรคระบบทางเดิน ปัสสาวะส่วนล่างของน้องแมว คะ

โรคระบบทางเดิน ปัสสาวะส่วนล่าง ในแมว มักไม่ได้เกิดมาจาก สาเหตุเดียว

ดังนั้น จึงควรทำการวินิจฉัย โดยสัตวแพทย์ ให้ทราบถึงสาเหตุอย่างแท้จริง ของการเกิดโรค ก็คือ

มาจาก..อาหาร

อาจจะเกิดจาก ระดับแร่ธาตุบางชนิด ที่สูงเกินไปในอาหาร ที่น้องแมวกิน และจะเพิ่มต่อความเสี่ยงต่อ การเกิดผลึกนิ่วในปัสสาวะ

เช่น แร่ธาตุตระกูล แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส เป็นต้น

เป็นส่วนประกอบสำคัญ ในนิ่วสตรูไวท์ ซึ่งเป็นนิ่วชนิด ที่พบได้บ่อยที่สุด

ดังนั้น สิ่งสำคัญ คือ การควบคุมระดับของแร่ธาตุ เหล่านี้ ในอาหารแมว ให้มีระดับต่ำ


อาหารที่น้องแมว กินเข้าไปในท้อง แต่ละวัน มีหลายยี่ห้อ และแต่ละส่วนผสมก็แตกต่างกัน

สามารถทำให้ เกิดความเป็นกรดในปัสสาวะ นิ่ว ในชนิดสตรูไวท์ มักจะก่อตัว ในปัสสาวะที่มีสภาวะเป็นด่าง

และนิ่วชนิดอื่นๆ เช่น แคลเซียมออกซาเลต มักจะก่อตัว ในปัสสาวะที่เป็นกรด

ดังนั้น การให้อาหาร ทำให้ปัสสาวะ มีความเป็นกรด ด่าง ที่เหมาะสม จะช่วยป้องกันการเกิดนิ่วได้


ต้องดูแล สภาพแวดล้อมในบ้านด้วย

การขาดการออกกำลังกาย การถูกกักขัง บริเวณสถานที่ ก่อให้เกิดการเครียด

การกินน้ำน้อย หรือแม้แต่ ถาดปัสสาวะไม่สะอาดพอ หรือสกปรก หมักหมม ก็อาจส่งผล ก่อให้เกิดการก่อตัวของนิ่วได้


ในกรณีที่ ชามน้ำ มีขนาดเล็กจนเกินไป มีน้ำไม่เต็ม หรืออยู่ใกล้ กับบริเวณที่มีเสียงดัง

หรือถาดปัสสาวะ จะทำให้แมว กินน้ำน้อยลง

ถาดปัสสาวะที่สกปรก การใช้ถาดปัสสาวะ ร่วมกันกับแมวตัวอื่น หรือตั้งอยู่ ในพื้นที่ พลุกพล่าน จะทำให้แมว มีการปัสสาวะน้อยลง


ดูแลสภาพร่างกาย ของน้องแมวด้วย

แมวที่มีน้ำหนักเกิน หรือ เป็นโรคอ้วน จะมีความเสี่ยง ต่อการเกิด โรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง

Continue lendo

วิธีจัดการถ้าบ้านมีแมวหลายตัว


cat bowl
มีใครชอบแมวบ้างงง? :bye: ที่บ้านใครเลี้ยงแมวหลายตัวบ้างคะ ?
มีน้องแมวหลายตัวก็ต้องมีวิธีจัดการ ทั้งเวลาให้อาหาร เวลานอน เวลาเล่น
ไม่งั้นคงหัวปั่นอยู่เหมือนกัน ตามไปดู >>>
ลองทำตามวิธีข้างล่างดูค่ะ น่าสนใจนะ
kitty lunch
ทั้งหมดดดด…จั๊ดแถว เวลากินต้องมีระเบียบ!   :confident:
cat sleep
เวลานอน ต้องแบ่งปัน   :beauty:
(สามารถเสริมความสูงได้ แต่วัสดุทำจากพลาสติก อาจไม่แข็งแรงเป็นอันตรายต่อแมวได้ค่ะ)
cat sleep2
ขอแนะนำคอนโดแสตนเลส แข็งแรงทนทานกว่า มั่นใจได้  :misdoubt:
cat sleep3
หากแมวของท่านกลัวความสูง แนะนำให้หาคอนโดแนวนอน จัดเก็บได้มากพอกัน
cat play
และเมื่อถึงเวลาเล่น ก็ต้องมีความเสมอภาคนะจ๊ะ ทุกตัวลงถัง!  
ลองปรับใช้กันตามอัธยาศัยค่าาา เมี้ยววววว… :embarrassed:
ขอบคุณภาพจาก pinterest
Continue lendo

โรคโลหิตจางจากการติดเชื้อในแมว

โรคโลหิตจางจากการติดเชื้อในแมว






โรคโลหิตจางจากการติดเชื้อในแมว (FELINE INFECTIOUS ANEMIA) (Cat Magazine)

เรื่อง : น.สพ.พัฒนา ร้อนชินกร

            โรคโลหิตจางจากการติดเชื้อในแมวโรคนี้อาจเรียกว่า Feline Hemotropic Mycoplasmosis หรือ Infection by Hemobartonella felis หรือ Infection by mycoplasma haemofelis เชื้อนี้จะอาศัยอาศัยอยู่ในร่างกายของแมวและใช้กลไกของร่างกายแมวในการเพิ่ม จำนวนเชื้อ พยาธิชนิดนี้เป็นเชื้อที่สูงกว่าแบคทีเรีย และชอบเกาะติดกับเม็ดเลือดแดงของแมวล่องลอยไปตามกระแสเลือดจนกว่าภูมิต้าน ทานของร่างกาย แมวจะพบและทำลายเม็ดเลือดแดงเพื่อกำจัดเชื้อ

Hemobartonella felis (มีชื่อใหม่ว่า Mycoplasma haemofelis)

            เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคโลหิตจางในแมวเดิมมีชื่อว่า Hemobartonella felis เชื้อเป็นตระกูล bacterium แต่เป็นกลุ่มพิเศษของแบคทีเรียที่เรียกว่า Mycoplasma ซึ่งแตกต่างจากแบคทีเรียอื่นเนื่องจากไม่มีผนังเซลล์ (cell wall) ที่จะปกป้องสิ่งที่อยู่ภายในเซลล์ของมันอย่างแบคทีเรียตัวอื่น จึงไม่สามารถเพาะเชื้อบนจานเพาะเชื้อได้ เนื่องจากต้องอาศัยเซลล์ที่มีชีวิตในการดำรงอยู่

            Hemobartonella felis พบครั้งแรกในแอฟริกาเมื่อ ค.ศ. 1942 แต่ไม่ทราบว่าเป็นตระกูล mycoplasma จนกระทั่งทราบการเรียงตัวของยืนเมื่อเร็วๆ นี้ จึงมีการเปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อให้ตรงกับกลุ่มเป็น Mycoplasma haemofelis และคงเห็นชื่อใหม่นี้แทนชื่อเก่าการเรียงตัวของยืนของเชื้อสามารถแบ่งได้ เป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มหนึ่งเชื้อมีขนาดเล็กกว่าเรียกว่า Candidatus M haemominutum เชื้อที่เล็กกว่าก่อให้เกิดโรคในแมวมากกว่าโดยเฉพาะในรายที่ติดเชื้อ feline leukemia virus

            ชื่อโรค feline infectious anemia ความจริงไม่ตรงกับโรคนัก เนื่องจากมีโรคอื่นที่สามารถทำลายเม็ดเลือดแดงได้ก่อให้เกิดอาการโลหิตจาง จึงเปลี่ยนชื่อโรคใหม่ว่า Feline Hemotropic Mycoplasmosis ซึ่งเหมายถึงการติดเชื้อ Mycoplasma ในเลือดของแมว


แมวที่ติดเชื้อเกิดอาการอย่างไร

            แมวที่ติดเชื้อภูมิต้านทานจะทำงานหนักเพื่อจับกับเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ติด เชื้อ เม็ดเลือดแดงที่ภูมิต้านทานไปจับจะถูกขับออกจากร่างกายโดยทางม้าม เชื้อจะถูกทำลาย แต่ธาตุเหล็กจะถูกนำกลับมาใช้สร้างเม็ดเลือดแดงใหม่ เมื่อเม็ดเลือดแดงถูกทำลายมากๆ แมวจะเกิดภาวะโลหิตจาง

            แมวที่ติดเชื้อจะมีเหงือกซีด (บางตัวอาจพบอาการดีซ่าน) และอ่อนเพลีย แมวที่โลหิตจางบ่อยครั้งทีเดียวพบว่าจะกินฝุ่น และทราบสำหรับให้ขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะเพื่อเสริมธาตุเหล็กส่วนมากมีไข้ การตรวจนับเม็ดเลือดจะพบว่าเม็ดเลือดแดงลดลง และไขกระดูกมีการสร้างเม็ดเลือดออกมามากโดยปล่อยเม็ดเลือดแดงที่ยังไม่ สมบูรณ์ออกมาด้วย เนื่องจากร่างกายรู้ว่ากำลังขาดเม็ดเลือด จึงเร่งสร้างออกมาทดแทน ในรายที่ติดเชื้อ feline leukemia ร่วมด้วยจะยิ่งทำให้อาการโลหิตจางรุนแรงขึ้น เนื่องจากเชื้อไวรัสจะไปกดไขกระดูกทำให้สร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อย

            เมื่อแมวติดเชื้อใหม่ ๆ จะกินเวลาประมาณ 1 เดือน ที่จำนวนเชื้อจะเพิ่มปริมาณจนทำให้แมวแสดงอาการป่วยได้ อัตราการตายจะสูงที่สุดในช่วงระยะเวลา 1 เดือนหลังแสดงอาการ ถ้าแมวสามารถฟื้นตัวได้จะเป็นตัวแพร่โรค และถ้าเกิดความเครียดจะกระตุ้นให้เชื้อมีการเพิ่มจำนวนและแสดงอาการป่วยได้


การวินิจฉัยโรค

            เนื่องจากไม่มีผนังเซลล์จึงไม่สามารถเพาะเชื้อบนจานเพาะเชื้ออย่างแบคทีเรีย อื่น ๆ ได้ จึงต้องเพาะโดยวิธีพิเศษ และมักเก็บตัวอย่างมาเพาะเชื้อจากปัสสาวะ ส่วนมากแล้วมักตรวจหาเชื้อจากเลือดโดยตรงจะพบเชื้ออยู่ในเม็ดเลือดแดงดังรูป ที่แสดงข้างบน โอกาสที่จะพบเชื้อมีค่อนข้างน้อยเนื่องจากเชื้อจะอยู่ในกระแสเลือดเพียงไม่ กี่ชั่วโมง ทำให้ปริมาณเชื้อที่ตรวจได้อาจต่างกัน 90-1% ถ้าตรวจห่างกันเพียง 3 ชั่วโมง จึงมีโอกาสตรวจไม่พบเชื้อได้ค่อนข้างสูงแม้ว่าแมวจะแสดงอาการของโรคก็ตาม ในปัจจุบันการตรวจด้วยวิธี PCR technology สามารถทำให้พบเชื้อได้ง่ายขึ้นแม้แต่ในแมวที่เป็นพาหะของโรคที่มีเชื้อแฝง อยู่




แมวที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค

            แมวที่ชอบออกไปเที่ยวนอกบ้านมีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อสูง เนื่องจากมีโอกาสติดหมัดมากกว่าแมวที่อยู่ในบ้านแมวตัวผู้อายุน้อยกว่า 4-6 ปี ติดเชื้อได้ง่ายที่สุดเพราะมีการต่อสู้กัน และมักมีประวัติฉีดวัคซีนไม่ครบ การติดเชื้อ feline leukemia virus เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น เนื่องจากภูมิต้านทานลดและมีภาวะโลหิตจางทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ ง่ายกว่า และแมวมักแสดงอาการป่วยหนักกว่าแมวปกตินอกจากนี้ กรณีที่ติดเชื้อร่วมเช่นนี้ยังทำให้โอกาสเป็นมะเร็งของไขกระดูกสูงขึ้น แมวที่เป็น feline immunodeficiency virus ไม่ทำให้อาการของโรค hemotropic mycoplasma infection รุนแรงขึ้น

            แมลงดูดเลือด เช่น หมัด, เหา, เห็บ, และยุง สามารถแพร่กระจายโรคได้ จึงควรป้องกันและกำจัดแมลงเหล่านี้ การให้เลือดแมวอาจเป็นสาเหตุของการติดโรคได้ เนื่องจากในสัตว์มักไม่มีการตรวจหาโรคเหล่านี้ก่อนการให้เลือด


การรักษา

            ค่อนข้างง่ายเนื่องจากมียาหลายชนิดที่ใช้ในการรักษา แต่ท่านเจ้าของต้องให้ยาตามที่สัตวแพทย์สั่ง อย่างน้อย 3 สัปดาห์ จึงจะสามารถควบคุมอาการของโรคได้
การให้ยาฆ่าเชื้อเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ การรักษา กล่าวคือ ต้องมีการยับยั้งการทำลายเม็ดเลือดแดง โดยต้องให้ยากดภูมิ ซึ่งยาที่นิยมที่สุดเป็นยาในกลุ่มสเตียรอยด์ ยาจะทำให้เม็ดเลือดแดงถูกทำลายน้อยลง ส่วนมากแล้วแมวมักตอบสนองกับการรักษาได้ดี แมวที่เป็นพาหะส่วนมากจะไม่รักษา เนื่องจากเชื้อมีปริมาณน้อยและยามักเข้าไม่ถึงเชื้อ


สุนัขสามารถเป็นโรคนี้ได้หรือไม่

            เดิมทีในสุนัขมีเชื้อที่เรียกว่า Hemobartonella canis ตอนนี้ก็เปลี่ยนชื่อเป็น Mycoplasma haemocanis ซึ่งมักไม่ก่อปัญหาให้กับสุนัข ยกเว้นในรายที่ถูกตัดม้ามออก ร่างกายจึงไม่สามารถกำจัดเม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้ออกไปได้ (ม้ามเป็นอวัยวะสำคัญที่คอยกำจัดเม็ดเลือดที่เสีย) ถ้าดูจากการเรียงตัวของยืนแล้วเชื่อว่าเชื้อของแมวน่าจะอาศัยอยู่ในสุนัขได้ แต่ความจริงที่พบก็คือว่า เลือดของสุนัขที่เป็นโรคไม่สามารถติดต่อถึงแมวได้ ในขณะเดียวกันเลือดของแมวที่เป็นโรคก็ไม่สามารถทำให้สุนัขติดโรคได้เช่นกัน
Continue lendo

โรคของแมว

โรคของแมว
ความผิดปกติที่พบบ่อยในแมว     1. อาเจียน  การ อาเจียนในแมวอาจพบได้เป็นปกติในกรณีที่แมว รู้สึกไม่สบายตัว แล้วจึงไปกินหญ้าเพื่อให้อาเจียนออกมา แต่ถ้านอกจากนี้ หรือพบว่าแมวอาเจียนบ่อยมาก นั่นหมายถึงว่าเกิดความผิดปกติขึ้นแน่นอน การอาเจียนนั้นจะต้องเกิดหลังจากกินอาหารเข้าไปอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง ถ้าเกิดเร็วกว่านั้นมักจะเรียกว่าการสำรอก ซึ่งจะมีสาเหตต่างกัน
สาเหตุ ของการอาเจียน :แบ่งได้ 3 สาเหตุใหญ่ๆคือ การติดชื้อภายในร่างกาย ความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร และความผิดปกติในระบบการทำงานของร่างกายนอกเหนือจากทางเดินอาหาร
          สำหรับการวินิจฉัย : จำเป็นจะต้อง ใช้การตรวจเลือด การเอ็กซเรย์ หรืออาจจะต้องใช้กล่องตรวจภายใน ดังนั้นท่านเจ้าของไม่ควรนิ่งนอนใจเมื่อแมวของท่านเกิดอาเจียนขึ้นมา
     2. ท้องเสีย  อาการท้องเสีย หรือถ่ายเหลวสามารถพบได้บ่อยในแมว สามารถแบ่งลักษณะการท้องเสียตามอาการและความรุนแรง ได้ 3 ประเภทใหญ่คือ
          - ถ่ายเหลวเป็นน้ำ สาเหตุมักเกิดจาก อาหาร การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ป่วยด้วยโรคอื่นๆ
          - ถ่ายเหลวเป็นเมือก มักเกิดจาก พยาธิ และปาราสิตบางชนิด
          - ถ่ายเหลวเป็นเลือด มักเกิดจากมีบาดแผลในลำไส้ พยาธิ ปาราสิตบางชนิด ไวรัส หรือแบคทีเรียบางชนิด สำหรับความรุนแรงของโรคนั้นมีตั้งแต่ป่วยเล็กน้อย จนถึงตาย ดังนั้นเมื่อมีอาการท้องเสียควรนำแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อหาสาเหตุและการรักษา ที่ถูกต้อง
     3. น้ำลายไหล  เมื่อแมวมีอาการน้ำลายไหลออกมามากเกินไป อาจจะมีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น แพ้ยาหรือสารเคมีบางอย่าง ติดเชื้อไวรัสบางชนิด กินยาเบื่อหนู ความรุนแรงอาจจะถึงตายได้ดังนั้นควรนำไปพบหมอเพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาโดย ด่วน
     4. ไอ  แมวที่มีอาการไอ มักจะมีปัญหาที่หลอดลม หรือปอด อาจจะเกิดจากสาเหตุของการติดเชื้อ ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด การวินิจฉัยที่ได้ผลมักจะต้องเอ็กซเรย์ หรือต้องใช้กล้องตรวจภายในส่องดู บางทีอาจจะต้องเช็คเลือดด้วย
     5. จาม  บางตรั้งแมวที่มีสุขภาพแข็งแรงดีก็อาจจะจามได้ เมื่อรู้สึกระคายเคืองที่จมูก แต่ถ้าการจามนั้นบ่อย หรือร่วมกับการมีน้ำมูก นั่นแสดงว่าป่วยซะแล้ว สาเหตุอาจเกิดจากแบคทีเรีย หรือไวรัส ต้องพาไปตรวจก่อนจะสายเกินไป ไม่งั้นอาจจะลุกลามจนทำให้เป็นปอดบวมได้
     6. ท้องผูก  แมวพันธุ์ขนยาวมักจะมีปัญหาท้องผูกอยู่เสมอ เพราะมักจะเลียกินเศษขน เข้าไปจนไปอุดตันในลำไส้ นอกจากนี้แมวที่มีปัญหาเรื่องเชิงกรานแคบก็จะมีปัญหาเรื่องท้องผูกอยู่ เหมือนกัน การวินิจฉัย: จะใช้การคลำร่วมกับ การถ่ายภาพเอกซเรย์
          การป้องกัน : จะต้องให้แมวกินอาหารที่มีกากเยอะๆจะได้ช่วยในการขับถ่ายได้ง่าย นอกจากนี้ก็จะมีผลิตภัณฑ์ สำหรับป้องกันการท้องผูกขายอยู่ด้วย
     7. ฉี่ไม่ออก   อาการฉี่ไม่ออก มักพบได้บ่อยในแมวตัวผู้มากกว่าตัวเมีย เพราะตัวผู้มักจะมีเศษไขมันที่เกิดในทางเดินปัสสาวะไปอุดตันที่ปลายท่อทำให้ ฉี่ไม่ออก เมื่อคลี่ปลายท่อปัสสาวะก็จะสามารถพบเศษไขมันนั่นได้ เจ้าของสามารถดึงเอาออกได้ เองแต่ถ้าไม่แน่ใจควรปรึกษาหมอ
          สำหรับสาเหตุอื่นๆ : อาจจะเกิดจากความผิดปกติของไต นิ่ว เป็นต้น
          การวินิจฉัย: มักจะใช้การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ และการเอ็กซเรย์ ไม่ควรปล่อยให้แมวอั้นฉี่ไว้นานเพราะจะมีผลต่อการทำงานของไต และระบบอื่นๆในร่างกายได้ ควรรีบนำแมวไปให้หมอตรวจหากพบว่าแมวพยายามฉี่ แต่ฉี่ไม่ออกอยู่หลายครั้ง
     8. ฉี่เป็นเลือด   อาการฉี่เป็นเลือด เป็นอาการที่ไม่ค่อยดีนัก สาเหตุมักจะเกิดจากนิ่ว การติดเชื้อ เป็นต้น ไม่ควรนิ่งนอนใจควรพาแมวไปพบหมอโดยด่วน เพราะอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้


โรคพยาธิหนอนหัวใจ
โรคพยาธิหนอนหัวใจในแมวคืออะไร     โรคพยาธิหนอนหัวใจในแมวมีความรุนแรงและสามารถทำให้แมวป่วยตายได้ โรคนี้เกิดจากพยาธิ Dirofilaria immitis ซึ่งเป็นพยาธิชนิดเดียวกันกับพยาธิที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคพยาธิหนอนหัวใจ ในสุนัข แต่จากรายงานการวิจัยเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นว่า พยาธิชนิดนี้ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงและทำให้แมวตายอย่างปัจจุบันทัน ด่วนได้

แมวเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจได้อย่างไร     แมวสามารถเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจได้ด้วยวิธีเดียวกับที่สุนัขเป็น ยุงคือพาหะของโรคพยาธิหนอนหัวใจ ด้วยการกัดกินเลือดจากสุนัขที่ป่วยด้วยโรคนี้ หลังจากนั้นจึงแพร่เชื้อ (ตัวอ่อนระยะติดต่อ)ไปยังสุนัข หรือแมวอีกตัวหนึ่ง เมื่อยุงไปกัดกินเลือด

แมวที่อยู่อย่างไร ที่ไหนจึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจ     ที่ใดก็ตามที่สุนัขมีความเสี่ยงต่อการติดโรค เช่น อยู่ในบริเวณที่มีการระบาดของโรค หรือมีสุนัขที่ป่วยด้วยโรคพยาธิหนอนหัวใจอยู่ร่วมด้วยโดยไม่ได้รับการรักษา ทำให้เป็นตัวกักโรค สามารถเป็นแหล่งแพร่เชื้อให้กับสุนัขและแมวตัวอื่นๆ ได้ แมวที่อยู่ภายในบ้านก็สามารถติดโรคนี้ได้เช่นกัน ในต่างประเทศพบว่าแมวกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ที่อยู่ร่วมกับสุนัข หรืออยู่ในบริเวณที่มีสุนัขป่วยด้วยโรคนี้มีความเสี่ยงที่จะติดโรคนี้ได้ สำหรับในประเทศไทยการรายงานพบโรคพยาธิหนอนหัวใจยังมีน้อย แต่สุนัขที่ป่วยด้วยโรคพยาธิหนอนหัวใจมีมาก
อาการของโรคพยาธิหนอนหัวใจในแมวเป็นอย่างไร
     อาการของแมวที่พบว่าเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจที่สามารถพบได้บ่อยได้แก่ :
          - ไอ
          - หายใจลำบาก
          - อาเจียน
          - เงื่องหงอย ซึม
          - น้ำหนักตัวลดลง

     อาการอื่นๆ ที่สามารถพบได้ :
          - หมดสติ
          - ชัก
          - ตายอย่างกระทันหัน (sudden death)

     อาการเหล่านี้อาจจะพบได้ในแมวที่ป่วยด้วยโรคอื่นๆ เหมือนกัน ที่ดีควรนำแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย

โรคพยาธิหนอนหัวใจในแมวรักษาได้อย่างไร     ปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้สำหรับการรักษาโรคพยาธิหนอนหัวใจในแมว

มีวิธีการป้องกันการเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจในแมวได้อย่างไร     การป้องกันเป็นวิธีการที่ดีทีสุด ควรปรึกษาสัตวแพทย์ การติดต่อพยาธิหนอนหัวใจในแมว

    


โรคไข้หัดแมว 
     โรคนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าโรคลำไส้อักเสบติดเชื้อไวรัสในแมว เป็นโรคที่พบได้ทั่วไปและเกิดในแมวทุกอายุ แมวทุกตัวควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ เนื่องจากไม่สามารถระวังให้แมวไม่สัมผัสกับเชื้อโรคนี้ได้ โดยเชื้อนี้จะมีผลกับอวัยวะต่างๆของร่างกาย ทำให้เกิดอาการไข้ เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเสีย แสดงสภาวะขาดน้ำ อ่อนเพลีย ตัวสั่นและเดินไม่ตรง แมวอาจตายภายใน 1 สัปดาห์ ลูกแมวที่เป็นโรคนี้ 3 ใน 4 ตัวจะตาย แมวที่มีอายุเมื่อเป็นโรคนี้จะมีอัตราการตาย 50% ดังนั้นควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ในลูกแมวอายุ6-12สัปดาห์ และฉีดกระตุ้นซ้ำทุกปี ลูกแมวที่อายุน้อยกว่า 12 สัปดาห์ ควรฉีดวัคซีนนี้ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 2-3สัปดาห์


การควบคุมดูแลแมวที่มีอายุมากเกี่ยวกับอาการของโรคต่างๆ      ถ้าแมวที่มีอายุมีท่าทางว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างเกี่ยวกับหน้าที่ ของระบบต่างๆในร่างกายมากขึ้น อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงจากการมีอายุมากขึ้น หรืออาจจะเกิดจากการมีโรคเกิดขึ้นก็ได้ ซึ่งเหล่านี้จะช่วยเตือนให้รู้ว่าเป็นโรคได้แต่เนิ่นๆ ขบวนการ
          1. การควบคุมการกินอาหาร ว่าจะให้กินเมื่อใด กินอาหารประเภทไหน มีการกินหรือการกลืนลำบากหรือเปล่า และอาเจียนหรือไม่
          2. การควบคุมการกินน้ำ โดยดูว่ามีการกินน้ำมากกว่าหรือน้อยกว่าปกติหรือไม่
          3. การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระโดยดูที่ สี ปริมาณ ความเข้มข้น ความถี่ในการขับถ่าย หรือดูว่ามีอาการเจ็บปวดขณะปัสสาวะหรืออุจจาระหรือไม่ หรือดูว่ามีการขับถ่ายเรี่ยราดหรือไม่
          4. ชั่งน้ำหนักทุกๆ 2 เดือน
          5. มีการตรวจและตัดเล็บ ตรวจดูแผลตามตัว รวมถึงกลิ่นที่ผิดปกต การขยายใหญ่ของช่องท้องและดูว่ามีอาการขนร่วงหรือไม่
          6. การควบคุมด้านพฤติกรรม ดูการนอน การแสดงออกต่อผู้คนรอบข้างมีอาการตกใจง่ายหรือไม่ และลักษณะท่าทางการนอนผิดปกติหรือไม่
          7. การควบคุมด้านท่าทางและการเคลื่อนไหว เช่นมีการชักหรือไม่ การสูญเสียการทรงตัว หรือเจ็บขา
          8. ดูความผิดปกติของการหายใจ หรือดูว่ามีการไอ มีการหอบหายใจ การจามหรือไม่
          9. ดูแลสุขภาพฟัน แปรงฟันให้แมวอย่างสม่ำเสมอ ดูว่ามีสิ่งผิดปกติในปากหรือไม่ ดูปริมาณน้ำลาย และดูลักษณะสีของเหงือกว่าเป็นสีเหลือง ชมพูหรือม่วง
          10. ควบคุมอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมว่าแมวของคุณมีความสุขสบายหรือไม่
          11. พาไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์ของคุณเป็นประจำ

ลักษณะอาการที่พบบ่อยและโรคที่เกี่ยวข้อง
     1. การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม โรคที่เกี่ยวข้อง คือ ความเจ็บปวดจากข้ออักเสบหรือสภาวะอื่นๆ การสูญเสียการมองเห็นและการได้ยิน โรคตับ โรคไต โรค Hepatic lipidosis
     2. การอ่อนเพลียหรือเหนื่อยง่าย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ การทำงานผิดปกติของ Mitral valve โรคหัวใจ โรคโลหิตจาง โรคอ้อน โรคมะเร็ง
     3. การเปลี่ยนแปลงในด้านความกระตือรือร้นของร่างกาย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรค Hyperthyroidism โรคข้ออักเสบ ความเจ็บปวดต่างๆ ความอ้วน โลหิตจาง ความผิดปกติของ Mitral valve และโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคมะเร็ง
     4. น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น โรคที่เกี่ยวข้อง คือ ความอ้วน
     5. น้ำหนักลด โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคมะเร็ง โรคไต โรคตับ โรคของระบบทางเดินอาหาร การกินอาหารลดลง Hyperthyroidism Hepatic lipidosis โรคฟัน ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ Mitral valve โรคหัวใจ การอักเสบของลำไส้
     6. การไอ โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคหอบ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็ง
     7. การดื่มมากและปัสสาวะบ่อย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต Hyperthyroidism
     8. การอาเจียน โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคไต โรคตับและโรคของระบบทางเดินอาหาร
     9. อาการท้องเสีย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคของระบบทางเดินอาหาร การอักเสบของลำไส้ โรคไต โรคตับ และอาจเกิดจากการเปลี่ยนอาหารเร็วเกินไป
     10. การชัก โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคลมชัก ( Epilepsy ) โรคมะเร็ง โรคตับ โรคไต
     11. อาการลมหายใจเหม็นผิดปกติ โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคฟัน โรคมะเร็งในช่องปาก โรคไต
     12. อาการขาเจ็บ โรคที่เกี่ยวข้อง คือ การลุกลำบาก การเดินผิดปกติ ข้ออักเสบ ความอ้วน เบาหวาน
     13. การกลั้นปัสสาวะไม่ได้หรือการถ่ายเรี่ยราด โรคที่เกี่ยวข้อง คือ การเป็นเนื่องจากข้ออักเสบ การอักเสบของลำไส้ Bladder stones โรคมะเร็ง
     14. อาการบวมและการกระแทก โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคมะเร็งและเนื้องอกต่างๆ
     15. การเปลี่ยนความอยากของอาหาร โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคตับ โรคไต ความเครียดและความเจ็บปวดต่างๆ อาจเกิดจากฤทธิ์ของยา โรคปากและฟัน Hyperthyroidism และ Hepatic lipidosis


สาเหตุของการเกาและเลียในแมว      บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจโรคอันเป็นสาเหตุของการเกาและเลียในแมว อาการแพ้นั้นมีอยู่หลายโรค ที่เป็นสาเหตุให้แมวของคุณเกา เลีย ดึงขน หรือผิวหนังแดง เหล่านี้ได้แก่ โรคขี้เรื้อน โรคมะเร็ง ปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมและการติดเชื้อ พร้อมด้วยการวินิจฉัยโรคและการรักษาได้ถูก สรุปไว้ดังแสดงในตารางด้านล่างต่อไปนี้



Continue lendo
 

เลี้ยงแมว Copyright © 2012 |Design by I Love Cat.