แนะนำวิธีการดูแลแมวเด็ก (cat magazine)
Krung Siam Cattery เป็นฟาร์มแมวที่ได้ขึ้นทะเบียนกับทางสมาคม CFA โดยทางฟาร์มจะมีแมวอยู่สองสายพันธุ์คือ เปอร์เซีย จะเป็นเพ็ดดิกรี CFA ทั้งหมด และ สก็อตติช โฟลด์ จะมีทั้งเพ็ดดิกรี CFA และเพ็ดดิกรี SCFC (สมาคมของไทย) ซึ่งลักษณะนิสัยของสองสายพันธุ์นี้ค่อนข้างจะแตกต่างกันโดยสั้นเชิง แต่สามารถฝึกลูกแมวตั้งแต่วัยเด็กได้ค่ะ วันนี้ Krung Siam Cattery จะมาแนะนำวิธีการดูแลลูกแมวเด็กสำหรับ 2 สายพันธุ์นี้นะคะ
Breed tips สำหรับลูกแมวเปอร์เซีย
แมวเปอร์เซียจะเป็นแมวที่เรียบร้อย ขี้อ้อน ช่างประจบ ติดเจ้าของ รักสะอาด ชอบแต่งตัว ชอบหวีขน เราสามารถฝึกลูกแมวให้ชินกับการอาบน้ำ หวีขนได้ตั้งแต่วัยเด็กค่ะ
สำหรับลูกแมวเปอร์เซีย สามารถหัดให้เขาชินกับการอาบน้ำได้ตั้งแต่อายุ 1 เดือนค่ะ ควรหัดจับเขาหงายท้อง ให้เขาชินกับการแปรงขนบริเวณท้องได้ตั้งแต่วัยเด็กเช่นกันค่ะ
ควรเช็ดทำความสะอาดหน้าทุกวัน เพื่อเป็นการฝึกลูกแมวให้ชินกับการเช็ดหน้า หากลูกแมวตัวไหนที่มีน้ำตาเยอะสามารถใช้แป้งขจัดคราบน้ำตา ทาทุกครั้งหลังการเช็ดทำความสะอาดหน้าได้เช่นกันค่ะ
Breed tips สำหรับลูกแมวสก็อตติช โฟลด์
แมวสก็อตติช โฟลด์ จะมีความเป็นตัวของตัวเองสูง ช่างสงสัย เล่นซน ไม่ค่อยขอบให้อุ้มเท่าไร ชอบเล่นซนเอง หากต้องการให้เขาติดเจ้าของควรฝึกตั้งแต่เล็กๆ โดยการอุ้มและสัมผัสเขาบ่อยๆ พูดคุยเวลาอุ้มให้เขาคุ้นเสียง จะทำให้แมวนิ่งขึ้นแล้วยอมให้อุ้มมากขึ้นพร้อมกับสร้างความคุ้นเคยโดยการใช้ ของเล่นแมวเป็นตัวเชื่อมาระหว่างเจ้าของกับแมว และอย่าลืมว่าแมวเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบการบังคับ ฝึกวันละนิดวันละหน่อยก็พอค่ะ
ลูกแมวสก็อตติช โฟลด์ จะเป็นแมวที่เหมาะสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง เพราะไม่ต้องดูแลอะไรมากมายค่ะ อาบน้ำ 10 วันครั้ง หรือ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง ก็เพียงพอ แต่ต้องเช็ดหู ตัดเล็บ ทุกสัปดาห์นะคะ
ที่ สำคัญ ลูกแมวทั้งสองสายพันธุ์นี้ควรเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดนะคะ โดยวางอาหารเม็ดแลนน้ำสะอาดไว้ให้เขาตลอดเวลา สำหรับอาหารเม็ดควรให้แค่พอประมาณ วันต่อวัน ไม่ควรเทเยอะแล้วปล่อยให้ค้างทิ้งไว้ค่ะ
สำหรับน้ำดื่ม ถ้าแมวกินน้ำจากขวดได้ ก็ควรจะเปลี่ยนน้ำและล้างทำความสะอาดขวดน้ำทุก 3 วันค่ะ สำหรับแมวที่ไม่ยอมกินน้ำจากขวดการให้น้ำกินจากถ้วย ควรเปลี่ยนน้ำวันละ 2 รอบ คือเข้ากับค่ำนะคะ
การฝึกการอาบน้ำลูกแมว
ควรอาบด้วยน้ำอุ่น ๆ โดยใช้มือลูบน้ำอุ่นไปตามตัวก่อนที่จะใช้ฝักบัวจ่อตรงไปที่แมว ควรระวังการทำน้ำเข้าจมูกหรือใบหน้าแมว วิธีที่ดีกว่าคือให้อาบน้ำตั้งแต่บริเวณหลังใบหูและต้นคอลงไปค่ะ ส่วนบริเวณหน้าผาก และใบหน้า ใช้ฟองน้ำ (แบบแป้งตลับทาหน้าของคน) ซุบน้ำหมาดๆ เช็ดเอานะคะ จากนั้นให้ใช้ไดร์อุ่นๆ เป่าจนแห้งสนิททั้งตัว ถ้าลูกแมวมีอาการตื่นกลัวเสียงไดร์ สามารถเอาสำลีอุดหูไว้ได้ค่ะ
ก่อนอาบน้ำทุกครั้ง ให้ฝึกการเช็ดหู ตัดเล็บลูกแมวให้คุ้นชินนะคะ ทำทุกครั้งก่อนอาบน้ำ สำหรับลูกแมวเด็ก อาบน้ำ 10 วันต่อครั้งก็ได้ค่ะ แต่หากลูกแมวเป็นเชื้อราควรอาบน้ำทุก 5 วัน ด้วยแชมพูสำหรับรักษาเชื้อรา
การใช้อาหารเสริมสำหรับลูกแมว
เริ่มให้ได้ตั้งแต่ลูกแมวมีอายุ 1 เดือนขึ้นไปค่ะ โดยใช้อาหารเม็ดสำหรับลูกแมว แช่น้ำต้มสุก แล้วปั่นจนเหมือนโจ๊ก หรือจะใช้อาหารสำหรับลูกแมวที่เป็นถาดสำเร็จรูป ผสมน้ำอุ่นนิดหน่อยเพื่อที่จะใช้ไซริงก์ดูดขึ้นค่ะ (จะมีของยี่ห้อโรยัล คานิน) โดยใช้ไซริงก์ขนาด 3 CC ป้อนในระยะแรก วันละ 2-3 มื้อเพื่อฝึกการกินอาหารและการย่อยอาหารก่อนค่ะ ในสัปดาห์แรกของการให้อาหารควรให้ครั้งละ 3 CC ก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มจนกว่าลูกแมวจะอิ่มค่ะ หลังจากเราเริ่มหัดให้เขากินอาหารเหลวแล้ว ควรใส่อาหารเม็ดสำหรับลูกแมวไว้ให้เขาหัดทานด้วยค่ะ ถ้าเราสังเกตว่าลูกแมวเริ่มกินอาหารเม็ดเองได้ ก็ลดปริมาณมื้อที่เราป้อนให้ลงได้ค่ะ
การฝึกให้ลูกแมวกินน้ำจากขวด
จะใช้วิธีการติดขวดน้ำจุกเล็ก ๆ สำหรับลูกแมวในตำแหน่งที่เขาสา มารถนั่งกินได้ไว้ใกล้ๆ กันบริเวณขวดน้ำของแม่แมว (หลายครั้งที่เห็นลูกแมวกินน้ำตามแม่แมวค่ะ) แต่ถ้ากรณีดูแล้วปริมาณน้ำไม่ลดเลย ให้เอาปากลูกแมวไปจ่อที่ขวดน้ำได้เลยค่ะ ให้เขารู้ว่ามีน้ำกินจากตรงนี้ จะเป็นการค่อยๆ ฝึกลูกแมวให้เริ่มกินน้ำเองค่ะ
การฝึกลูกแมวเข้ากระบะทราย
เริ่มจากการนำกระบะทรายเตี้ย ๆ ที่ลูกแมวสามารถปีนเข้าได้ วางไว้ให้หลังจากลูกแมวเริ่มเดินได้แข็งแรง ตำแหน่งการวางกระบะทรายก็ควรวางไว้ ใกล้กระบะทรายของแม่แมวนะคะ เขาจะเริ่มเข้าตามแม่แมวเองโดยธรรมชิตค่ะ การเข้ากระบะทรายฝึกไม่ยากค่ะ
การหวีขนลูกแมว
สำหรับเปอร์เซีย ควรหวีทุก 3 วันครั้ง เพื่อป้องกันการขนพันกันค่ะ แต่สำหรับก็อตติช โฟลด์ ใช้หวีสลิกเกอร์หรือหวีขนหมูหวีทุกสัปดาห์ เพื่อกำจัดเส้นขนที่ตายแล้วออกจากตัวลูกแมวค่ะ
นอกจากนี้ การดูแลเรื่องวัคซีนและถ่ายพยาธิ ลูกแมวควรได้รับการถ่ายพยาธิตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป แล้วถ่ายซ้ำรอบที่สองเมื่อลูกแมวมีอายุ 2 เดือน พร้อมกับการทำวัคซีนเข็มแรกด้วยค่ะ หลังจากนั้นควรทำวัคซีนตามที่แพทย์กำหนดเพื่อสุขภาพที่ดีของลูกแมวค่ะ
0 comments:
Post a Comment